วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างภาษาโปรแกรม

โครงสร้างภาษาปาสคาล
ภาษาปาสคาล  เป็นภาษาระดับสูง (High-Level Language)  เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยม  เนื่องมาจากตัวภาษามีลักษณะเด่นหลายด้าน  เช่น  รูปแบบคำสั่งที่มีลักษณะเป็นภาษาอังกฤษ  ง่ายต่อการเขียน และการจดจำ  นอกจากนี้โปรแกรมยังมีลักษณะที่เป็นโครงสร้าง (Structure Programing) ง่ายต่อการศึกษา มีตัวแปรภาษา(Compilers) อยู่ในหลายระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นภาษาที่เหมาะสมกับงานในทุกประเภท  ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน ด้านการศึกษา เหมาะกับผู้ที่จะเริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมเป็นครั้งแรก
         ปาสคาล(Pascal)  เป็นชื่อที่ได้รับสมญานามมาจาก "Blaise Pascal" นักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส  ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงในการประดิษฐ์เครื่องจักรที่ใช้ในการคำนวณ ซึ่งเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล
โปรแกรมภาษาปาสคาลประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ  3  ส่วนคือ
1.  ส่วนหัวโปรแกรม  (program  heading)
2.  ส่วนประกาศ  (program  declarations)
3.  ส่วนคำสั่งการทำงาน  (program  statements)
โครงสร้างภาษาซี
ภาษา C เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกค้นคิดขึ้นโดย Denis Ritchie ในปี ค.ศ. 1970
โดยใช้ระบบปฏิบัติการของยูนิกซ์ (UNIX) นับจากนั้นมาก็ได้รับความนิยมเพิ่มขั้นจนถึงปัจจุบัน ภาษา C สามารถติดต่อในระดับฮาร์ดแวร์ได้ดีกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาเบสิกฟอร์แทน ขณะเดียวกันก็มีคุณสมบัติของภาษาระดับสูงอยู่ด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงจัดได้ว่าภาษา C เป็นภาษาระดับกลาง (Middle –lever language)
ภาษา C เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดคอมไพล์ (compiled Language) ซึ่งมีคอมไพลเลอร์ (Compiler) ทำหน้าที่ในการคอมไพล์ (Compile) หรือแปลงคำสั่งทั้งหมดในโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำคำสั่งเหล่านั้นไปทำงานต่อไป
โครงสร้างภาษาเบสิค
ภาษาเบสิก (BASIC programming language) เป็นภาษาโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย และยังได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้ เบสิกออกแบบมาให้ใช้กับคอมพิวเตอร์ตามบ้าน
ภาษา Basic นั้นเป็นโปรแกรมที่เป็นพื้นฐานสำหรับหัดเขียนโปรแกรมก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นภาษาที่เป็นคำพูดของคนเราทั่วไป เช่น ดังนี้
การใช้คำสั่ง Print
PRINT "Hello World!"
เครื่องจะประมวลผลและแสดงผลออกมาเป็นข้อความ Hello world! ออกมาทางหน้าจอ
ประเภทของค่าภาษา Basic
! : Single-precision
# : Double-precision
$ : String
% : Integer
& : Long
โครงสร้างภาษาแอสแซมบลี
คำสั่งในภาษาแอสแซมบลี แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกกำหนดการทำงาน เรียกว่า OP-CODE (Operation Code) ส่วนที่สองเรียกว่า Operand มีหน้าที่กำหนดเกี่ยวกับข้อมูล 
OP-CODE อยู่ในไบท์แรกของคำสั่งภาษาแอสแซมบลีแทนด้วยตัวอักษร ส่วนภาษาเครื่องแทนด้วยเลขฐาน 2 สองบิทแรก ในไบท์นี้เป็นตัวกำหนดความยาวของคำสั่งนั้นด้วย โปรแกรม จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเลขไบนารี่ที่เรียกว่าภาษา Machine ซึ่งเป็นภาษาที่สามารถ ติดต่อให้คอมพิวเตอร์ เข้าใจได้ ภาษา Machine นี้จะจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นเลขฐานสิบหก (HEX) เช่น คำสั่ง 8 บิต 11101011B (B-ไบนารี่) เขียนได้เป็น 0EBH(H-ฐานสิบหก) แต่ก็เป็นการที่จะเข้าใจความหมาย ได้ยากในการใช้งาน การที่จะทำความเข้าใจภาษา Machine จะมีการใช้สัญลักษณ์ (Symbols) ที่เรียกว่า Mnemonics เพื่อแทนความหมายของคำสั่ง เช่น MOV A,#67H หมายความว่านำข้อมูลค่าคงที่ 67H ไปเก็บไว้ใน reg. A) โปรแกรมที่เขียนด้วยรหัส Mnemonics เรียกว่า ภาษา Assembly และก่อนที่จะให้ CPU ทำงานตามโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Assembly ได้ แต่ต้องเปลี่ยนให้เป็นภาษา Machine ก่อน โดยใช้ โปรแกรมแอสเซมเบลอร์
โครงสร้างภาษาจาวา
1.      เครื่องหมาย ในการควบคุม Structure
1.1 Comment คือข้อความที่แทรกเข้าไปในโปรแกรม แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม เช่นในกรณีที่เราต้องการอธิบาย Source code ไว้ใน โปรแกรม วิธีการคือcomment ทีละ บรรทัด ใช้เครื่องหมาย // ตามด้วยข้อความที่ต้องการ comment เช่น//comment commentcomment แบบครอบทั้งข้อความ ใช้เครื่องหมาย /* ข้อความที่ต้องการ comment */ เช่น/*Comment
Comment*/
1.2 Keyword คือคำที่ถูกกำหนดไว้ใช้เองแล้วในภาษา Java ไม่สามารถนำมาใช้ในการตั้งชื่อภายใน โปรแกรมได้ ตัวอย่างเช่น class,boolean,char เป็นต้น
1.3 Identifiers คือชื่อที่ผู้เขียนตั้งขึ้นมา เพื่อใช้แทนอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็น method ,ตัวแปร หรือ class ชื่อที่ถูกต้องควรประกอบด้วย ตัวอักษร ,ตัวเลข ,_,$ และจะต้องขึ้นต้นด้วย ตัวอักษรเท่านั้น
1.4 Separators คือ อักษร หรือ เครื่องหมายที่ใช้แบ่งแยกคำในภาษา มีดังต่อไปนี้เครื่องหมาย () ใช้สำหรับ
1.ต่อท้ายชื่อ method ไว้ให้ใส่ parameterเช่น private void hello( );
2. ระบุเงื่อนไขของ if ,while,for ,doเช่น if ( i=0 )
3. ระบุชื่อชนิดข้อมูลในการ ทำ castingเช่น String a=( String )x; เครื่องหมาย{ }ใช้สำหรับกำหนดขอบเขตของ method และ classเช่น class A{}Private void hello(){} 
2. กำหนดค่าเริ่มต้นให้ กับตัวแปร Arrayเช่น String a[]={"A","B","C"};เครื่องหมาย [ ] ใช้สำหรับ
1. กำหนดตัวแปรแบบ Arrayเช่น String a[ ];
2. กำหนดค่า index ของตัวแปร arrayเช่น a[ 0 ]=10; เครื่องหมาย ; ใช้เพื่อปิดประโยคเช่น String a        เครื่องหมาย , ใช้สำหรับ แยกชื่อตัวแปรในประโยคเช่น String a , b , c;เครื่อง หมาย . ใช้สำหรับแยกชื่อ package,subpackage และชื่อ classเช่น package com.test.Test1;ใช้เพื่อเรียกใช้ ตัวแปร หรือ methodของ Objectเช่น object.hello();
โครงสร้างภาษา Cobol
ภาษาโคบอล (COBOL programming language) เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูงภาษาหนึ่งที่อยู่มาอย่างยาวนาน COBOL ย่อมาจาก Common Business Oriented Language เป็นภาษาที่นิยมนำไปใช้ทางธุรกิจ ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1959 โดยนักคอมพิวเตอร์กลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า Conference on Data Systems Languages (CODASYL) และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ภาษาโคบอลมีการแก้ไขและปรับปรุงอยู่ตลอด ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาความแตกต่างของตัวภาษาโคบอลในแต่ละเวอร์ชัน สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน (ANSI) จึงได้พัฒนามาตรฐานกลางขึ้นมาในปี ค.ศ. 1968 เป็นที่รู้จักกันในนามของ ANS COBOL ต่อมาเมื่อ ปี ค.ศ. 1974 ทาง ANSI ได้นำเสนอ ANS COBOL รุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่ารุ่น 1968 และในปี ค.ศ. 1985 ANSI ก็นำเสนออีกรุ่นหนึ่งที่มีคุณสมบัติมากกว่ารุ่นปี 1974
รูปแบบภาษาโคบอลแบ่งออกเป็น 4 ดิวิชั่น คือ
1.       Identification division การกำหนดชื่อโปรแกรมและชื่อผู้เขียน
2.       Environment division การอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
3.       Data division การอธิบายเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล
4.       Procedure division การอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการประมวลผล
ภาษาโคบอล (COBOL : Common Business Oriented Language) คือภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในงานธุรกิจภาษาแรกของโลก พัฒนาในปีค.ศ. 1962 โดยคณะกรรมการโคดาซิล (The Conference on Data Systems Languages - CODASYL) มีจุดเด่นคือ สามารถใช้งานแฟ้มข้อมูลได้หลายแบบ กำหนดโครงสร้างข้อมูลได้สะดวก มีลักษณะการเขียนโปรแกรม แบบเอกสารอธิบายโปรแกรม ช่วยให้นักพัฒนารุ่นถัดไปเข้าใจได้ง่าย
การเขียนโปรแกรมภาษา COBOL เป็นภาษาที่ง่ายมากภาษาหนึ่ง เพราะไม่มีลูกเล่นให้ใช้มาก ๆ เหมือนพวก VB, C, Pascal หรือ dBase หน้าที่หลักของ COBOL คืออ่านข้อมูลจากแฟ้มมาประมวลผลทางธุรกิจเป็นหลัก สำหรับ ผู้เรียนมือใหม่ อาจบอกว่าภาษานี้ยาก เพราะพวกเขาอาจไปยึดติดกับการจดจำ division ต่าง ๆ ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงหน้ากาก มิใช่ concept ของภาษา ถ้ามีคู่มือสักเล่ม ก็จะเข้าใจ และแกะหน้ากากเหล่านั้นออกได้ แล้วก้าวให้ลึกเข้าไปสู่ตัวภาษาได้โดยง่าย
โดยพื้นฐานแล้ว COBOL ประกอบด้วย 4 Division และตำแหน่งแรกต้องเริ่มต้นที่ 8 ส่วนคำสั่งเริ่มหลักที่ 12 สำหรับตัวแปลภาษา COBOL รุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องมี 3 division แรกได้




วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตารางเลขฐาน


1.              ตารางเลขฐาน


2.              เลขฐานอื่น ๆ เป็น 10
2.1 .   1111001012=  48510
2.2  .  2FBC16 = (2*163)+(15*162)+(11*161)+(12*160)
                = 8192 + 3840 + 176 + 12
                = 1222010
2.3       .  2868 = (2*82)+(8*81)+(6*80)
           = 128 + 64 + 6
            = 19810
3.              เลขฐาน 10 เป็นรหัสนักศึกษาสองตัวท้าย
652 = 10000012
6516 = (6*161)+(5*160) = 96 + 5 = 10116
658 = (6*81)+(5*80) = 48+5 =538


วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ

ใบงานที่ 9
โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ

1.การขัดจังหวะ หรือการอินเตอร์รัปต์ หมายถึงอะไร จงอธิบาย

2.จงเปรียบเทียบการอินเตอร์รัปต์ กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไป ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
      =การติดต่อเพื่อรับส่งข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกันกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวัน มนุษย์จะติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ติดต่อกันเพื่อทำการค้าขาย พูดคุยกัน อย่างนี้เป็นต้น

3.สาเหตุที่การป้องกันฮาร์ดแวร์ มีบทบาทสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่รองรับหลายๆ งาน อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร จงอธิบาย
=เพื่อป้องกันการเรียกใช้อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลแบบผิด ๆ หรืออ้างอิงตำแหน่งในหน่วยความจำที่อยู่ในส่วนของระบบปฏิบัติการ หรือไม่คืน การควบคุมซีพียูให้ระบบซึ่งมีการกำหนดว่าคำสั่งเรียกใช้อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลเป็นคำสั่งสงวน (Privileged Instruction) ผู้ใช้ไม่สามารถเรียกใช้อุปกรณ์เองได้ ต้องให้ระบบปฏิบัติการเป็นผู้จัดการให้

4.จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโหมดการทำงานของผู้ใช้ กับโหมดการทำงานของระบบมาให้พอเข้าใจ
=ผู้ใช้ก็จะทำงานเหมือนกับคอมพิวเตอร์ เราจะรับข้อมูลจาก ตา หู จมูก ปาก แล้วก็สมองจะทำการประมวลผลสิ่งที่เราดู ได้ยิน ได้กลิ่น หรือรับรส แล้วก็จะแสดงจากทางอาการหรือคำพูด ก็เหมือนคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลจากเมาส์ คีย์บอร์ด แล้ว CPU ก็ทำการประมวลผล จากนั้นก็แสดงผลในรูปของเสียงหรือภาพ

5.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันอินพุต และเอาท์พุตอย่างไร จงอธิบาย
      =กลไกในการอ้างอิงหน่วยความจำหลัก ป้องกันกระบวนการให้ใช้หน่วยความจำหลักได้แต่ในส่วนของกระบวนการนั้นเท่านั้น เช่น การไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ระบบทำการรับส่งข้อมูลเองโดยตรง เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการใช้งานของอุปกรณ์รับส่งข้อมูล

6.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันหน่วยความจำอย่างไร จงอธิบาย
      =กลไกในการอ้างอิงหน่วยความจำหลัก ป้องกันกระบวนการให้ใช้หน่วยความจำหลักได้แต่ในส่วนของกระบวนการนั้นเท่านั้น

7.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันซีพียูอย่างไร จงอธิบาย
=ระบบต้องมีการป้องกัน ความผิดพลาดที่เกิดจากกระบวนการหนึ่งไปกระทบอีกกระบวนการหนึ่ง โดยสร้างกลไกบางอย่างเพื่อป้องกันแฟ้มข้อมูลหน่วยความจำส่วนหนึ่งหรือหน่วยประมวลผลกลาง




8.โครงสร้างของระบบปฏิบัติการประกอบด้วยกี่ส่วน อะไรบ้าง
=ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย ส่วน คือ
1. เคอร์เนล (Kernel) หมายถึง ส่วนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนแรกที่ถูกเรียกมาใช้งาน และจะฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำหลักของระบบ ดังนั้นเคอร์เนลจึงต้องมีขนาดเล็ก โดยเคอร์เนลจะมีหน้าที่ในการติดต่อ และควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมใช้งาน (Application Programs)
2.โปรแกรมระบบ (System Programs) คือ ส่วนของโปรแกรมการทำงานของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ และผู้จัดการระบบ เช่น Administrator

9.ในการจัดการกับโปรเซส ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=การจัดการงานที่เราจะทำการประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบการแบ่งเวลา หรืออื่นๆ โดยแต่ละโปรเซสจะมีการกำหนดการใช้ทรัพยากรที่แน่นอน

10.ในการจัดการกับหน่วยความจำ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=การจัดการหน่วยความจำจัดเป็นหน้าที่หนึ่งของระบบปฏิบัติการ หน่วยความจำนี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย  กล่าวคือถ้าหากคอมพิวเตอร์มีความจำมาก  นั้นหมายถึงขีดความสามารถในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นโปรแกรมที่มีสลับซับซ้อนและมีสมรรถนะสูง มักจะเป็นโปรแกรมที่ต้องการหน่วยความจำสูง แต่ก็เป็นที่ทราบแล้วว่าหน่วยความจำมีราคาแพง ดังนั้นระบบปฏิบัติการที่ดีจะต้องมีการจัดการหน่วยความจำที่มีอยู่จำกัด ให้สามารถรองรับงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำจำนวนมากได้

11.ในการจัดการกับแฟ้มข้อมูล ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=เป็นการทำงานของระบบปฏิบัติการโดยทำหน้าที่ในการโอนถ่ายข้อมูลลงไปจัดเก็บในอุปกรณ์บันทึกข้อมูล

12.ในการจัดการกับอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ในการรับข้อมูล และแสดงข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ต่างๆ โดยข้อมูลที่ส่งไปยังอุปกรณ์เหล่านี้ จะผ่านสายส่งข้อมูล

13.ในการจัดการกับหน่วยความจำสำรอง เช่น ดิสก์ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่โอนถ่ายข้อมูลไปจัดเก็บในอุปกรณ์บันทึกข้อมูล

14.จงสรุปงานบริการของระบบปฏิบัติการมาพอเข้าใจ
=ระบบปฏิบัติการจะเป็นเหมือนตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้งาน จะรับข้อมูลทางเมาส์หรือคีย์บอร์ด จากนั้นจะส่งไปยัง CPU เพื่อให้ประมวลผลออกมา แสดงผลจะอยู่ในรูปของเสียงหรือภาพ

15.ในการติดต่อระหว่างโปรเซสกับระบบปฏิบัติการ จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มงานใดบ้าง จงอธิบาย
=สถานะของโปรเซส (Process Status)ก็จะมี  สถานะเริ่มต้น (New Status) ,สถานะพร้อม(Ready Status) ,สถานะรัน (Running Status),สถานะรอ (Wait Status),สถานะบล็อก (BlockStatus)และสถานะสิ้นสุด (Terminate Status)

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การแก้ปัญหาและเพิ่อมความเร็วให้กับฮาร์ดดิสก์แบบเศรษกิจพอเพียงและวิธีแก้ปัญหา Virus Win32. Sality.aa


การแก้ปัญหาและการเพิ่มความเร็วให้กับฮาร์ดดิสก์แบบเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการแก้ปัญหาและเพิ่มความเร็วให้กับฮาร์ดดิสก์แบบเศรษฐกิจพอเพียง
       การเป็นเจ้าของและใช้งานฮาร์ดดิสก์โดยไม่เคยสแกนตรวจสอบก็เหมือนกับการมีรถยนต์คันหรูที่เอาแต่ขับอย่างเดียวไม่เคยเข้าศูนย์บริการ ซึ่งทิปต่อไปนี้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องลงแรงมากนัก เพียงแค่เจียดเวลาสักนิดในการปฏิบัติตาม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณกลับมามีชีวิตชีวาเหมือนใหม่และทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
     1. สแกนหาไวรัส
       จัดเป็นข้อควรปฏิบัติที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่คุณควรให้ความสำคัญและหมั่นทำเป็นประจำ เราคงไม่ต้องบอกคุณแล้วว่าไวรัสในปัจจุบันนั้นมีฤทธิ์เดชร้ายแรงแค่ไหน เอาเป็นว่าให้คุณลองนึกถึงตอนที่ไฟล์ข้อมูลสำคัญในฮาร์ดดิสก์ถูกทำลายหรือเสียหายเพียงแค่เพราะว่าคุณไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสเอาไว้ในเครื่อง หรือใครที่ติดตั้งเอาไว้แล้วก็ไม่ควรชะล่าใจ ลองตรวจสอบวันที่ของฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition) ถ้าเก่าเกินกว่า 30 วันก็ควรรีบทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันเพื่อการป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในระบบ ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้กำหนดตารางเวลาในการสแกนเป็นประจำทุกสัปดาห์
       2. ปัดกวาดไฟล์หรือขยะที่ไม่ได้ใช้  
       ยิ่งใช้งานเครื่องมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ หรือขยะในเครื่องก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราวที่หลงเหลือจากการท่องอินเทอร์เน็ตรวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไฟล์ชั่วคราวของวินโดว์ส ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการกำจัดไฟล์ขยะเหล่านี้ก็คือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์สหรือจากออปชันทำความสะอาดไฟล์ในโปรแกรม IE โดยตรง (Tools -> Internet Options)
       3. กำจัดขยะในซอกหลืบ    
       แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษขยะที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย โดยเศษขยะในที่นี้หมายรวมถึงบรรดาสปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ด้วย ซึ่งวิธีการตรวจสอบหาขยะเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษคือโปรแกรมอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่มทำการสแกนระบบด้วย
        4. หมั่นใช้สแกนดิสก์
        เมื่อใดก็ตามที่พื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เกิดบกพร่องเสียหาย เรามักจะใช้คำแทนจุดบกพร่องนั้นๆ ว่า “Bad Sector” ซึ่งมีความหมายว่าบริเวณพื้นผิวของจานมารดาเหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถทำการอ่านข้อมูลได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นคือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดว์สในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยังเซกเตอร์อื่นๆ ที่ปกติทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกออปชัน Scan for and attempt recovery of bad sectors ด้วยก่อนเริ่มทำการสแกน นอกจากนี้หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 98/Me แนะนำให้ปิดการทำงานของสกรีนเซฟเวอร์ก่อนเริ่ม Scandisk ด้วย
       5. จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ
       โปรแกรม Defragmenter ที่ไม่ต้องเสียเวลาหาให้ไกลเพราะมีอยู่ในวินโดว์สทุกเวอร์ชันแล้วนั้นจะช่วยในการจัดเรียงข้อมูลที่ถูกเขียนลงฮาร์ดดิสก์อย่างสะเปะสะปะให้มีระเบียบและเป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไม่ต้องทำงานหนักและใช้เวลาในการอ่านข้อมูลสั้นลง และโปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าโปรแกรมจะจับไฟล์ในโฟลเดอร์ของคุณไปสลับสับเปลี่ยนหรือเรียงไว้ในโฟลเดอร์อื่นๆ จนหาไม่เจอ เพราะการ Defrag นั้นจะทำการจัดเรียงไฟล์ข้อมูลบนดิสก์เท่านั้นไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการเก็บไฟล์ในวินโดว์สแต่อย่างใด
      6. เก็บทุกอย่างให้เข้าที่     
       ขั้นตอนนี้จะเรียกว่าเป็นวินัยส่วนตัวก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นลิ้นชักตู้เสื้อผ้าหรือฮาร์ดดิสก์ก็ล้วนต้องการระบบระเบียบในการจัดเก็บที่ดีด้วยกันทั้งนั้น ฟังดูอาจเป็นงานที่น่าชอบมาก แต่ถ้าฝึกให้เป็นนิสัยตั้งแต่แรกก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย ส่วนใครที่ยังเก็บไฟล์ทุกชนิดทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสารเวิร์ด ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เพลง ฯลฯ ปนกันมั่วไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน เตรียมตัวเตรียมใจกับเรื่องปวดหัวในการค้นหาไฟล์เมื่อต้องการใช้งานให้ดี แต่ถ้าไม่อยาก ... ก็สละเวลาจัดการจัดไฟล์ลงโฟลเดอร์ให้เรียบร้อยเสียตั้งแต่วันนี้
       7. แบ็กอัพข้อมูล  
       ไม่มีฮาร์ดดิสก์รุ่นไหน ยี่ห้อใด ที่จะมีอายุยืนยาวอยู่กับคุณไปตลอดกาล แต่ถึงแม้ในที่สุดฮาร์ดดิสก์ของคุณจะหมดอายุขัย ก็ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลทั้งหมดที่เก็บอยู่ในนั้นจะสูญหายไปด้วย เพียงแต่สิ่งที่คุณควรต้องหมั่นทำเป็นกิจวัตรก็คือการแบ็กอัพไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ เก็บไว้ในฟล๊อบปี้ดิสก์ แผ่นซีดี ดีวีดี หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ใช้งานอยู่ หรือถ้าที่กล่าวมานั้นมันยุ่งยากหรือทำให้คุณลำบากเกินไป แนะนำให้ใช้ทัมป์ไดรฟ์ที่ปัจจุบันมีราคาแสนถูก และถ้าไม่ลำบากเงินในกระเป๋าจนเกินไปเลือกรุ่นที่จุ128MB ขึ้นไปจะดีมาก
       8. เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง  
       เมื่อคุณกดปุ่ม Delete เพื่อลบไฟล์ ซึ่งในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าไฟล์ข้อมูลของคุณจะถูกลบออกไป แต่ในทางทฤษฎีนั้นไฟล์ของคุณจะยังไม่ถูกลบออกไปจริงๆ เพียงแต่วินโดว์สจะทำเครื่องหมายไว้ในพื้นที่ส่วนนั้นๆ ว่าเป็นที่ว่างและเมื่อใดที่มีการเขียนไฟล์ข้อมูลก็สามารถเขียนทับตำแหน่งนั้นๆ ได้ นอกจากนี้วินโดว์สจะนำไฟล์ที่คุณลบไปใส่ไว้ในถังขยะ (Recycle Bin) เผื่อกรณีที่คุณเกิดเปลี่ยนใจหรือตัดสินใจพลาด หากใครช่างสังเกตจะพบว่าแม้จะลบไฟล์ข้อมูลไปแล้วแต่พื้นที่ว่างในอาร์ดดิสก์นั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เพราะข้อมูลนั้นๆ ยังนอนรอชะตากรรมอยู่ในถังขยะ (Recycle Bin) นั่นเอง ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าไม่ใช้งานแล้ว หรือไม่ต้องการให้ใครมาแอบคุ้ยถังขยะเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณไป แนะให้คลิกขวาที่ไอคอน Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin เพื่อกำจัดขยะในถังให้สิ้นซาก
       9. แบ่งพาร์ทิชันเพื่อเก็บข้อมูล   
       ฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปที่ออกมาจากโรงงานนั้นจะไม่มีการแบ่งพาร์ทิชันเอาไว้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือซื้อ 80GB ก็จะได้ไดรฟ์C: ความจุ 80GB มาใช้งาน แต่ถ้าจะให้ดี แนะนำให้คุณทำการแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่าการแบ่งพาร์ทิชันนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ 80GB นำมาแบ่งเป็น 2 พาร์ทิชัน พาร์ทิชันละ 40GB ซึ่งคุณก็จะได้ไดรฟ์มาใช้งาน 2 ไดรฟ์คือไดรฟ์ C:และไดรฟ์ D: ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนอกจากจะช่วยลดภาระของหัวอ่านและเพิ่มความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์แล้ว คุณยังสามารถแยกไฟล์สำคัญๆ มาเก็บไว้ในไดรฟ์แยกต่างหากจากไดรฟ์ที่ติดตั้งวินโดว์สซึ่งอาจโดนไวรัสเล่นงานจนเสียหายได้อีกด้วย ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนั้นคุณสามารถทำได้ในขณะที่ติดตั้ง Windows XP เลย แต่ถ้าไม่ได้ทำก็ไม่เป็นไรเพราะปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับการนี้มากมายซึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่โปรแกรม Partition Magic
       10. เลือกความเร็วให้เหมาะกับงาน 
       วิธีการที่ผ่านมานั้นสามารถช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณสามารถทำงานได้เร็วขึ้นได้อีกเล็กน้อย อย่างไรก็ดี หากคุณกำลังมองหาหรือตัดสินใจซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่ แนะนำให้พิจารณาเลือกรุ่นความเร็วที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่คุณต้องการใช้งาน เช่น เลือกรุ่นที่มีความเร็วในการหมุนจานมารดาเหล็ก 5,400 RPM (รอบ/นาที) ที่มีราคาถูกถ้าคุณใช้เพียงโปรแกรมทั่วๆ ไปเช่น เล่นอินเทอร์เน็ต รับ-ส่งอีเมล์ หรือพิมพ์งานด้วยโปรแกรมเวิร์ด หรือถ้างานของคุณเกี่ยวกับการตกแต่งภาพถ่าย เล่นเกม ก็อาจเลือกซื้อรุ่น 7200 RPM หรืออาจจะเป็น 10,000 RPM เลยก็ได้หากทำงานประเภทตัดต่อวิดีโอเป็นหลัก ซึ่งฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการหมุนจานมารดาเหล็กสูงและมีขนาดของแคชภายในมากจะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานให้กับคุณมากยิ่งขึ้น


วิธีแก้ปัญหา Virus Win32.Sality.aa

ไวรัสตัวนี้ร้ายมหาศาล

ไวรัสตัวนี้ที่เคยเจอ มันจะเกาะติดกับไฟล์ .exe ทุกไฟล์เลย ทุกไดร์ฟ มีวิธีเดียวคือ Format แล้วลงใหม่ เมื่อลง Windows เสร็จแล้วให้ลง KIS แล้ว update ให้ใหม่ล่าสุด แล้วจัดการสแกนอีกรอบ เพราะมันจะอยู่ใน System Volume Information ด้วยทั้งในไดร์ฟ C และไดร์ฟอื่นๆครับผม ไม่อย่างนั้นมันก็จะฟื้นคืนชีพมาติดอีก
* Win32/Sality.NAR มันจะจำลองตัวเองเป็นไฟล์ที่ติดเชื้อ
*มันจะเข้าไปทำให้เราไม่สามารถทำงานได้
*ไวรัสตัวนี้จะจำลองตัวเอง โดยการค้นหา drives ทุกๆ drive ไม่ว่าจะเครื่องคุณเอง หรือใน เน็ตเวิร์ค!! มันจะเข้าไปแตกไฟล์ .exe และแฝงตัวโดยเพิ่มบางส่วนเข้าไปในไฟล์ .exe นั้น เมื่อเรามีการ run ไฟล์ .exe ขึ้นมาตามปกติ เจ้าไวรัสตัวนี้มันก็จะถูกเปิดขึ้นมาด้วย เพราะระบบจะบอกเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่เราต้องเปิด
ไวรัสมันจะมาแก้ไข registry  ลองสำรวจดู ว่าใน run มีอะไรแปลกปลอมหรือเปล่า
*ฉะนั้น!! จากข้างต้น ไวรัสจะถูกเข้าถึงทุกครั้งที่เครื่องเรา
และมันจะแพร่กระจายไปตาม Flash Drive, Thumb Drive แล้วแต่จะเรียกนะ มันจะเข้าไปแล้ว copy ตัวเองแฝงไว้ที่ directoryแรก นั่นคือเปิดไปก็เจอเลย โดยมันจะ "สุ่ม ชื่อ"  (หาใน google ยังไงก็ไม่เจอ) ที่มีนามสกุล ดังนี้ .exe   .pif  .cmd
จากนั้นก็ทำการฝัง autorun.inf เข้าไปด้วย
เมื่อเอา flash drive ไปเสียบ ที่ไหน ไวรัสมันก็จะ run ทันที
มันจะลบไฟล์พวก *.vdb  *.avc  *drw*.key
และซ้ำร้าย มันยังไปสั่งไม่ให้โปรแกรมพวกนี้ทำงานด้วย !! ทำนองเดียวกับ anti_antivirus ที่เคยเจอเลย มันจะ block ไม่ให้พวกโปรแกรม anti virus ทำงาน
และอื่น ๆ  อีกมากมาย
วิธีแก้ไวรัส sality โดยใช้โปรแกรมช่วยแก้ไวรัสของแอนตี้ไวรัส KASPERSKY
ไวรัสตัวนี้ติดกันเยอะติดกันมานาน หลักการทำงานของไวรัส ตัวนี้คือ เมื่อติดแล้วจะเข้าไปฝังอยู่ในไฟล์นามสกุล .exe ในเครื่องของเรายิ่งติดนานยิ่งฝังไปทุกโปรแกรมเลย ไม่เว้นแม้แต่โปรแกรมแอนตี้ไวรัสก็โดนไวรัสตัวนี้เกาะแล้วทำให้แอนตี้ไวรัสทำงานไม่ได้เลยแนวทางการแก้ไขและเครื่องมือช่วยแก้ไวรัสตัวนี้
ลักษณะการทำงาน
เริ่มแก้กันเลย
เตรียมไฟล์มาก่อน
1.โหลดไฟล์ช่วยหยุดไวรัสมาก่อน SALITY_OFF.ZIP
http://www.webphand.com/sality/Sality_off.zip
2.ไฟล์โปรแกรมแอนตี้ไวรัส Kaspersky Internet Security 7.0 (หากเครื่องคุณมีแอนตี้ไวรัสอยู่ให้ลบทิ้งไปเลย)
http://www.webphand.com/sality/kis7.0.1.325en.zip
3.ไฟล์ซ่อมอาการเข้า safmode ไม่ได้สำหรับ
 win xp >> http://www.webphand.com/sality/SafeBootWinXP.zip
·         ปิด Autorun >> http://www.webphand.com/sality/Disable%20autorun.zip
ขั้นตอนการแก้ไข
ข้อควรจำหลังจากโหลดไฟล์เสร็จแล้วไม่ต้องคลายออกมาจาก Zip 
คลายออกปุ๊บโดนมันเกาะปั๊บแน่ๆให้เปิดไฟล์ Sality_off ในไฟล์ zip เลย
ไม่ต้องคลายออกมา เปิดแล้วโปรแกรม Sality_offจะทำการสแกนและหยุดไวรัส Sality รอจนเสร็จอาจจะนานหน่อยก็ต้องรอ โดยโปรแกรมนี้จะสแกนทุกๆไดว์ฟทุกๆไฟล์ที่น่าสงสัยว่า Sality เกาะอยู่เมื่อเสร็จแล้วจะขึ้นให้คุณกดปุ่มใดก็ได้ แล้วก็ติดตั้งแอนตี้ไวรัสเลย หรือหากมี kaspersky อยู่แล้วก็ให้รีสตาร์ทเครื่องเลยหรือหากไม่มีต้องติดตั้งก่อน เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก็สแกนเลยระหว่างที่สแกนก็จะพบว่าไฟล์โปรแกรมของเราโดนไวรัสเกาะอยู่ kaspersky จะถามเราว่าจะทำอย่างไร ให้เรากด Disinfect เพื่อที่จะลบไวรัสออกจากไฟล์โปรแกรมของเรา
แต่บางไฟล์โดนไวรัสเกาะลึกเกินไปก็ไม่สามารถลบไวรัสออกจากไฟล์ได้ kaspersky จะขึ้นมาถามอีกครั้งโดยที่จะมีให้กด แค่ deleted กับ Skip
ให้กด deleted เลยหากเป็นโปรแกรมสำคัญหรือไฟล์สำคัญให้เราจำไว้ แล้วไปก๊อปไฟล์นี้จากเครื่องอื่นที่ไม่โดนไวรัสเกาะมาใส่แทน
ระหว่างสแกนไวรัสนั้นหาก kaspersky ขึ้นมาถามให้คุณกดปุ่มลบไวรัสบ่อยๆ หากเราไม่อยากต้องคอยกดปุ่ม deleted ก็ให้คลิกถูกหน้าบรรทัด
Apply to all kaspersky ก็จะไม่ถามอีก
ต่อไปก็เปิดไฟล์ซ่อมอาการเข้า safmode ไม่ได้ เลือกเอาว่ากำลังใช้วินโดว์อะไรอยู่แล้วก็เปิดไฟล์ ปิดออโต้รันด้วยช่วยป้องกันไวรัสจาก แฟลชไดว์ฟได้อีกระดับหนึ่งไฟล์ซ่อมอาการเข้า safmode ไม่ได้สำหรับ


วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556


 
Static 
            คือ การประกาศล่วงหน้า โดยไม่จำเป็นต้องกระทำใน Methodโดยเมื่อเราประกาศตัวแปรแบบ Static แล้ว เราก็สามารถนำตัวแปรนี้ไปใช้ได้ในทุกๆ Method ใน Class นั้นๆ 

Cache
     Cache คือหน่วยความจำอย่างนึง มีความเร็วในการเข้าถึงและการถ่ายโอนข้อมูลที่สูง ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลที่เราต้องการจะใช้งานบ่อยๆ เพื่อเวลาที่ CPU ต้องการใช้ข้อมูลนั้นๆ จะได้ค้นหาได้เร็ว โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องไปค้นหาจากข้อมูลทั้งหมด
ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 

Cache มี 2 แบบคือ
1.disk cache คือการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลักของเราก่อน เมื่อ CPU ต้องการจะหาข้อมูล ก็จะหาใน dish cache ก่อนแล้วค่อยเข้าไปค้นหาใน Harddisk
2.Memory cache จะดึงข้อมูลมาเก็บไว้ใน memory ซึ่งจะถึงขอ้มูลได้รวดเร็วกว่า แต่มีความจำที่เล็กกว่า 
     เพราะฉะนั้นถ้า คอมพิวเตอร์เครื่องใดที่มี cache ความเร็วสูงก็จะเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามยิ่งขนาดใหญ่ก็เก็บข้อมูลได้เยอะ แต่การเข้าถึงจะช้ากว่า cache ที่มีขนาดเล็ก 

ระบบ Cache นอกจาก ใน computer แล้ว ระบบ Cache ยังเอามาใช้งานบนเว็บ ด้วย CMSส่วนใหญ่จะมีระบบ Cache เพื่อลดภาระการทำงานของฐานข้อมูลลง

Dynamic
Dynamic random access memory (DRAM) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว (RAM) ที่ใช้โดยทั่วไปสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเวิร์กสเตชัน หน่วยความจำเป็น เครือข่ายของการชาร์จไฟฟ้าที่จุดซึ่งเป็นที่เก็บของคอมพิวเตอร์ โดยมีการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วในรูปแบบ 0 และ 1 random access มีความหมายว่าโพรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สามารถเข้าถึงส่วนต่าง ๆ ของหน่วยความจำ หรือที่เก็บข้อมูลโดยตรงแทนที่การเข้าถึงแบบอนุกรมจากจุดเริ่มต้น DRAM แตกต่างจาก Static RAM (SRAM) โดย DRAM ต้องการให้เซลล์มีการ refresh หรือให้มีการชาร์จไฟฟ้าใหม่ ในช่วงเวลาที่เป็น milliseconds ในขณะที่ Static RAM ไม่จำเป็นต้อง refresh เพราะการทำงานอยู่บนหลักการของการย้ายกระแส เมื่อมีการสับเปลี่ยนในหนึ่งของสองทิศทางแทนการชาร์จประจุของเซลล์ Static RAM โดยทั่วไปใช้สำหรับ cache memory ซึ่งเข้าถึงได้เร็วกว่า DRAM